รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดติดตามการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการตามแนวพระราชดำริ |
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะติดตาม การขับเคลื่อนและขยายผลโครงการตามแนวพระราชดำริจังหวัดภูเก็ต
วันนี้ (12 มกราคม 2560) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมศูนย์ ปภ.เขต 18 ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พลเอก ยศนันท์
หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะเดินทางมาประชุมติดตาม การขับเคลื่อนและขยายผลโครงการตามแนวพระราชดำริจังหวัดภูเก็ตโดยมีนายสนิท ศรีวิหค รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต,นายทวี หอมหวลโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต , นายฉลาด แก้วขาว เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต,
นายณรงค์ อ่อนอินทร์ ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตและ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สำหรับจังหวัดภูเก็ตมีการดำเนินโครงการ ตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย 1.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับพระราชานุญาต จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้ประชาชนเยาวชนได้เห็นความหลากหลายแห่งศักยภาพของทรัพยากรไทยได้เข้ามาเรียนรู้อนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรของชาติอย่างยั่งยืนโดยขณะนี้จังหวัดภูเก็ตดำเนินการอยู่ในระยะที่ 5 ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 จังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระ มิติโดยจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมเข้าค่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว,กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์เรียนรู้และการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ รับผิดชอบ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต ,กิจกรรมส่งเสริมการปลูกและดูแลดูแลรักษาส้มแขก(ส้มควาย) ดำเนินการโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตและกิจกรรมจัดทำเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์โครงการของหน่วยงานของอพ.สธ.รับผิดชอบโดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต และการดำเนินงานโครงการมีการขยายผลไปสู่นักเรียนในโรงเรียนต่างๆจำนวน 9 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
โอกาสนี้ พลเอก ยศนันท์
หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่าขอชื่นชมจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการจัดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เป็นอย่างดีแม้ว่าพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนอกจากจะส่งเสริมรักษาพันธุ์พืชที่หายากแล้วยังจะเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อีกด้วย และอยากให้สร้างพี่เลี้ยงที่เป็นทั้งส่วนของเอกชนและส่วนราชการช่วยกัน
ขยายพื้นที่การดำเนินโครงการ ขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมและช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้แหล่งท่องเที่ยวและศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การประชาสัมพันธ์บุคคลต้นแบบที่อยู่ในโครงการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ได้รับทราบว่าเมื่อมีการดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริเช่นโครงการฝายทดน้ำก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนชุมชนและสังคมประชาชนพึ่งพาตนเอง ได้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวชี้วัดที่แสดงได้ว่าโครงการเหล่านั้นประสบความสำเร็จ
2.โครงการจัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎรบ้านป่าครองชีพอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต อันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( โครงการก่อสร้างฝายคลองพระแทว) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการปรับปรุงฝายคลองพระแทวพร้อมระบบส่งน้ำไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีความเดือดร้อน มีประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 180 ครัวเรือนรวม 900 คน พื้นที่ 620 ไร่และปัจจุบันมีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโครงการที่ราษฎรได้รับพระเมตตาและมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
และ3.โครงการอุทยานเทิดพระเกียรติหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ตและภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ตร่วมดำเนินโครงการ เพื่อส่งเสริมให้หาดสุรินทร์เป็นอุทยานเทิดพระเกียรติ และต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับจังหวัดภูเก็ตอีกแห่งหนึ่งที่จะมีการนำเรื่องราวกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และ พระบรมวงศานุวงศ์ควบคู่กับการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมพื้นที่สาธารณะอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
มีโครงการที่จะพัฒนาให้เป็นอาคารบริการ,ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล,อาคารแสดงสินค้า,อาคารโครงการพระราชดําริ 77จังหวัด,ลานวัฒนธรรม,อาคารจุดชมวิว,อนุสาวรีย์มหาราช 9 พระองค์,อาคารเฉลิมพระเกียรติภาพถ่าย ร. 9 ,พิพิธภัณฑ์เรือใบ,พลับพลาที่ประทับ,สนามกอล์ฟหลุม 7,ศูนย์อาหารพื้นเมืองประชารัฐ, ลานกิจกรรม,ลานจอดรถและสวนราชพฤกษ์ 4 ภาคเพื่อเป็นพื้นที่ปลูกพันธุ์ไม้หายากโดยการดำเนินโครงการนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 800 ล้านบาทซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติงบประมาณบางส่วนมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การทำโครงการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดสุรินทร์ เป็นต้น
ในเรื่องนี้ พลเอก ยศนันท์
หร่ายเจริญ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่าโครงการอุทยานเทิดพระเกียรติหาดสุรินทร์อยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการนำสินค้าพื้นเมืองสินค้าโอทอปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตจากประชาชนมาจำหน่ายด้วยอันจะเป็นการส่งเสริมเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับประชาชนซึ่งจะถือเป็นการสนองพระราชดำริของพระบรมศานุวงศ์ได้เป็นอย่างดี
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต /ข่าว/ภาพ
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!
ความนิยม: แย่ ดี
ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้: