องคมนตรีติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น |
องคมนตรี ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
วันที่ 22 มี.ค. 61 เวลา 09.30 น. พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงแก่ท้องถิ่น / โดยมี นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต , ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ศ.ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, พลเรือตรี เจริญพล คุ้มราศี รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้กำหนดนโยบายและอนุมัติแผนพัฒนามหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งวิสัยทัศน์ดังกล่าวนั้น อยู่ในยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ที่เรียกว่า Reprofile / ในการดำเนินงาน มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และระดมสมองร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์และข้าราชการบุคลากรสังกัด รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก เพื่อเป็นกระจกสะท้อนแนวคิดและข้อมูลอันเป็นประโยชน์ กลั่นกรองออกมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ Reprofile ระยะ 15 ปี ที่เน้นการผลิตบัณฑิตและออกแบบหลักสูตรที่ทันสมัยตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ได้แก่ การผลิตครู การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ การเกษตรและอาหาร และการพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 20 ปี ระหว่างปีพุทธศักราช 2560 ถึง 2579 และยุทธศาตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันที่กำหนดไว้ว่า "เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพระดับโลก และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร"
ในช่วงบ่าย องคมนตรีได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏภูเก็ต / ที่ได้รับองค์ความรู้และการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ให้บริการวิชาการและสร้างผลงานอย่างเป็นที่ประจักษ์ในท้องถิ่น
ทั้งนี้ จากการผลักดันและสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แก่หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ แห่งนี้ ด้วยการน้อมนำพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ประชาชนในพื้นที่ จนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ /โดยได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับอยู่ดีกินดี ในปี 2554 / และเมื่อปี 2557 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแรกของจังหวัดภูเก็ต / นับเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดและการเพาะเห็ด ที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน นำพาท้องถิ่นให้เจริญ พร้อมเดินหน้าประเทศเข้าสู่สังคม 4.0 .../
กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!
ความนิยม: แย่ ดี
ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้: